กิจกรรมที่ 4 พ.ร.บ คอมฯ
......................................................................................................................
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์
.
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ได้ถูกกฏหมาย พ.ร.บ.กำหนดไว้
.
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีกี่ฉบับ - ประเทศไทย มี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาแล้ว 2 ฉบับ คือ ฉบับแรก ปี 2550 และ ฉบับสอง ปี 2560 โดย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด คือ ฉบับปี 2560
.
มาตราของ พ.ร.บ👮
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด] มีอยู่ 2 หมวด โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคือ หมวด 1 “ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” เพราะเป็นหมวดที่บอกว่า พฤติกรรมใดที่มีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมีบทลงโทษอะไรอย่างไร
หมวที่ 1 11 มาตราที่สนใจ
(พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่สนใจทั้ง 11 มาตรา)
💢สิ่งใกล้ตัวที่ไม่ควรทำ💢
1. แฮคเฟสบุ๊ค!! (มาตรา 5-8) การปล่อยไวรัส หรือมัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อขโมยข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่อนุญาต (ละเมิด Privacy) มีโทษฐานผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ โดย
-เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
-เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
-นำมาตรการป้องกันระบบไปเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
-ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ!!
2. หยุด!! แก้ไข ดัดแปลงข้อมูล (มาตรา 9-10)
การเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบ รวมทั้งเข้าไปดัดแปลง หรือทำลายข้อมูล ทำให้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามเสียหายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ห้าม!! ฝากร้านตาม Facebook และ IG เด็ดขาด! (มาตรา 11)
สำหรับพ่อค้าแม่ขายบนโลกออนไลน์เน้นย้ำ!! เรื่องการส่งอีเมลขายของโดยที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับนั้นถือเป็นการสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook และ IG ก็ตามมีโทษตาม พรบ.คอมพิวเตอร์โดยปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. อย่า!! แอบเข้าระบบของหน่วยงานภาครัฐ (มาตรา 12)
การเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลด้านความมั่นคงรวมถึงการโพสเนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่อประเทศบนโลกออนไลน์ที่เข้าข่ายข้อมูลเท็จที่ทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก มีโทษแบ่งตาม พรบ. คอมพิวเตอร์เป็นกรณีดังนี้
-กรณีไม่เกิดความเสียหาย จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
-กรณีเกิดความเสียหาย จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 – 2 แสนบาท
-กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท
5. โพสต์ข่าวปลอมก่อให้เกิดความเสียหาย (มาตรา 14)
แล้วโพสต์อะไรบ้างล่ะที่เรียกว่าผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ เริ่มจากการโพสต์ ข่าวปลอม ธุรกิจลูกโซ่ ที่ต้องการจะหลอกเอาเงินจากลูกค้า โพสต์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งการก่อการร้าย โพสต์ข้อมูลลามก โดยถ้าเกิดว่าส่งผลถึงประชาชน จะต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนถ้าส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรีบไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. คอมเม้นต์ในข่าวปล่อม (มาตรา 15)
การเข้าไปคอมเม้นแสดงความคิดเห็นในโพสที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็จะกระทำ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 ถ้าไม่ยอมลบจะได้รับโทษเดียวกันกับมาตรา 14 เหมือนกันกับผู้โพสต์แต่ถ้าหากว่าลบออกไปแล้ว ถือว่าพ้นผิด
7. ตัดต่อรูปภาพ (มาตรา 16)
การตัดต่อ ดัดแปลงภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และเกิดความเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพผู้เสียชีวิตที่ทำให้พ่อ – แม่ คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
8. ต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (มาตรา17)
หลายคนคงสงสัยว่าเวลาเราแชร์ข่าวปลอม โพสเรื่องหมิ่นประมาท แล้วเจ้าหน้าที่รัฐเค้าเอาหลักฐานที่ไหนมาจับเรา มาตรา 17 นี้เองที่ระบุว่าหากเราเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่ออกอินเตอร์เน็ตเราจำเป็นต้องติดตั้งระบบเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ลองสำรวจดูนะครับว่าบริษัทท่านได้ติดตั้งระบบจัดเก็บหรือยัง?? หากยังไม่จัดเก็บผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
💫Infographic💫
(https://www.ops.go.th/th/knowledge-base/ictc-infographic/item/289-2550-3)
Video
(คลิปวิดีโอที่บอกให้เข้าใจถึง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์)
.
สรุปได้ว่า
ก็คือกฏหมายที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองกลุ่มคนที่ใช้งานบนโลกออนไลน์ ถ้าหากรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เราอาจเผลอทำผิดกฎหมายก็ได้นะ ดังข่าวที่ออกมา ในบางเหตุการณ์ก็ก่อให้เกิดความเสียหายได้ในโลกอินเตอร์เน็ตได้
กรณีศึกษา
(รูปภายในเหตุการณ์)
"เอเชียซอฟท์" ประสาน ปอท. จับคนทำบอท-โปร"
พฤติกรรมการกระทำผิด ทำเว็บไซต์ http://ddprogame.blogsport.com เพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ โปรแกรมช่วยเล่นจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Cabal TCB (ใช้กับตัวเกม Cabal) และ TRH Trainer (ใช้กับตัวเกม Rohan) การกระทำดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่บริษัทเอเชียซอฟท์ฯ เป็นอย่างมาก ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเกมของบริษัทฯ ลดลง โดยเกมคาบาลออนไลน์เสียหายประมาณ 14 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนเกมโรฮานออนไลน์เสียหายประมาณ 8.5 ล้านบาทต่อเดือน รวมแล้วสูญเสียรายได้ต่อปี รวมมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท
บทลงโทษ พ.ร.บ. การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 13 (ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด) พิพากษาตัดสินให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 7,000 บาท หรือรอลงอาญา และ สำหรับผู้ที่ใช้โปรแกรมบอท-โปร นอกจากจะถูกบริษัทฯ แบนไอดีแล้ว ยังต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (ผู้ใดเข้าสู่ระบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน).
.
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ 2560 (ฉบับเต็ม)
(พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์)
ที่มา : https://ragnar.co.th/what-is-the-computing-act/
http://nganyerjangloey.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น